วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

ระบบปฎิบัติการ Apple

ระบบปฎิบัติการ Apple


มาตรฐาน UNIXMac OS X เป็นระบบปฏิบัติการที่ทรงพลังได้เพราะเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง นั่นคือรากฐาน UNIX ที่ได้รับการรับรองแล้ว ทำให้ Mac OS X เป็นระบบปฏิบัติการที่ทั้งปลอดภัย และเสถียรภาพสูงที่สุดระบบหนึ่ง หากคุณเป็น developer คุณก็จะเห็นคุณค่าของ Mac OS X ที่มากขึ้นไปอีก เพราะมาตรฐานของ UNIX หมายความว่าคุณสามารถ compile และ run UNIX code ได้ทุกชนิด ทำให้คุณใช้ code ต่างๆได้ในสภาพแวดล้อมที่สร้างมาสำหรับมันโดยเฉพาะ ทำให้ซอฟแวร์ทำงานได้อย่างที่ตั้งใจไว้ นอกจากนั้นยังมีเครื่องมือต่างๆที่ช่วยให้โปรแกรมใช้งานโปรเซสเซอร์ multicore ได้ดีขึ้น, Mac Pro ใหม่ จึงเป็น workstation ที่สมบูรณ์แบบพลังของ 64-bitMac OS X ทำให้ใช้งาน Mac Pro แบบ 64-bit ได้อย่างเต็มที่ และเพราะทั้งระบบของ Mac Pro พร้อมสำหรับการทำงานแบบ 64-bit อยู่แล้ว จึงทำให้ใช้ข้อได้เปรียบจากสถาปัตยกรรมแบบ 64-bit ของโปรเซสเซอร์ Quad-Core Intel Xeon “Nehalem” ได้อย่างเต็มพลัง Mac Pro ยังเพิ่ม RAM ได้ถึง 32GB เพื่อให้ Mac OS X ใช้ได้เร็วที่สุด และ Mac OS X ทำให้ developer สามารถสร้างโปรแกรม 64-bit เต็มตัว โดยใช้ GUI framework ของ Cocoa, Quartz, OpenGL และ X11 ซึ่ง Mac OS X รองรับโปรแกรมทั้งแบบ 64-bit และ 32-bit จึงไม่จำเป็นต้องคอยหา driver หรือ อุปกรณ์ตัวใหม่หลาย Core หลายภารกิจหัวใจของ Mac Pro ใหม่ คือ Quad-Core Intel Xeon “Nehalem” สูงสุดสองตัว ที่ให้ปริมาณการประมวลผลที่เหลือเฟือ และการสร้างมาอย่างเหมาะสมกับเทคโนโลยี multicore ทำให้ Mac OS X ใช้พลังของ Mac Pro ได้อย่างไม่สูญเปล่า อย่างเช่น scheduler ใน Mac OS X ที่แจกงานการประมวลผลไปสู่ core ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ Mac OS X ใช้เวลาในการประมวลผลมากกว่าที่จะมัวมาแจกงานให้ core ต่างๆ ในฐานะ developer, คุณสามารถสร้างโปรแกรมที่ดำเนินการด้วยประสิทธิภาพอย่างเดียวกันได้ เพราะมี NSOperation อีกขั้นของ API ที่สร้างมาให้เหมาะกับการประมวลผลแบบ multicoreCore Animationเอฟเฟคภาพที่ตื่นตาทำให้ Mac OS X เป็นระบบปฏิบัติการที่โดดเด่นอย่างแท้จริง ตั้งแต่หน้าตาของ Time Machine จนถึงภาพสะท้อนบน 3D Dock เอฟเฟคพวกนี้เกิดขึ้นได้จากเทคโนโลยี Core Animation ใน Mac OS X ซึ่งประสิทธิภาพของ Core Animation ก็ได้รับผลดีจากโปรเซสเซอร์ multicore และฮาร์ดแวร์ทางกราฟฟิคอันล้ำหน้าใน Mac Pro และสำหรับ developer, Core Animation ทำให้ใช้พลังของเทคโนโลยีกราฟฟิคจาก Apple ได้ ทำให้สร้างโปรแกรมที่มี user interface ที่เคลื่อนไหวได้ และ visualization ที่ซ้อนมีเดียแบบต่างไปพร้อมๆกันได้ เช่น ตัวอักษร, กราฟฟิค 2D, OpenGL rendering และวิดีโอ QuickTime, โดยเป็นreal time ทั้งหมดXcode developer toolsสิ่งที่ Apple ใช้สร้าง Mac OS X คือ Xcode ซึ่งเป็นเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมที่ใช้กราฟฟิคในการใช้งาน ที่มาพร้อมกับ Mac ทุกเครื่อง และมีความสามารถมากมาย รวมถึงตัว debug แบบกราฟฟิค ซึ่งเป็นตัว edit code ที่รองรับภาษาคอมพิวเตอร์กว่า 12 ชนิด และเป็นเครื่องมือที่ทำให้เห็นภาพการทำงานของโปรแกรมได้อย่างน่าทึ่ง, Xcode สร้างมาให้เหมาะสมกับ multicore ในโปรเซสเซอร์ Intel Xeon “Nehalem” และ RAM ใน Mac Pro และยังทำงานได้เร็วกว่าเดิมอีก 20 เปอร์เซนต์, รองรับภาษาหลากหลาย (ทั้งภาษามนุษย์ และภาษาคอมพิวเตอร์), Xcode มีทุกอย่างสำหรับสร้างโปรแกรมใน Mac OS X* Server สำเร็จรูปแค่ลง Mac OS X Server, Mac Pro ก็จะกลายเป็น server สำหรับ workgroup เล็กๆ ซึ่งรวมความใช้ง่ายของ Mac เข้ากับการจัดองค์ประกอบเครื่องที่หลากหลาย ในฮาร์ดแวร์ server class เพราะด้วยพลังของโปรเซสเซอร์ Intel Xeon “Nehalem”, การ์ด RAID ใหม่ที่ใส่เพิ่มได้, RAM ECC ที่ใส่ได้สูงสุด 32GB และ Gigabit Ethernet อีกสอง port, ทำให้ Mac Pro กลายเป็น workgroup server ที่มีทุกอย่างที่คุณต้องการ

ระบบปฎิบัติการ unix

มารู้จัก ระบบปฏิบัติการ UNIX กันเถอะ
ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) ระบบปฏิบัติการ UNIX มีต้นกำเนิดจากห้องปฏิบัติการวิจัย Bell ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย Ken Thompson และ Dennis Ritchie ปี พ.ศ. 2512 โดยมีที่มาคร่าวๆ คือ
สถาบัน MIT (Massascusetts Institute of Technology), ห้องปฏิบัติการวิจัย AT&T Bell Labs และบริษัท GE (General Electric) ร่วมกันพัฒนาโครงการ Multics ในปี 1960 เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการสำหรับ Mainframe Computer รุ่น GE 635 โดยให้ระบบปฏิบัติการนี้มีความสามารถทำงานแบบโต้ตอบ (Interactive) มีระบบอำนวยความสะดวกต่อการใช้แฟ้มและข้อมูลร่วมกันได้ แต่เกิดปัญหาหลายประการ จนกระทั่ง Bell Labs ได้ลาออกจากโครงการ แต่โครงการก็ยังดำเนินการต่อโดย Ken Thompson และ Dennis Ritchie ซึ่งทำงานกับ Bell Labs พร้อมๆ กันไปด้วย
ต่อมา Ken & Dennis ได้ร่วมกันพัฒนาระบบปฏิบัติการใหม่ เพื่อทำงานบนเครื่อง PDP-7 และใช้ชื่อว่าระบบปฏิบัติการ UNIX เพื่อให้ออกเสียงใกล้เคียงกับระบบ Multics ดังนั้นต้นกำหนดของ UNIX ก็คือ Multics นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ระบบแฟ้มข้อมูลที่ใช้ แนวคิดของตัวแปรคำสั่ง (Shell) หลังจากนั้นทั้งสองได้พัฒนามาเป็น Version 2 เพื่อทำงานบนเครื่องรุ่น PDP-11/20 โดยใช้ภาษา Assembly และได้พัฒนาปรับปรุงด้วยภาษา C (ภาษา C ก็พัฒนาที่ห้องวิจัย Bell Labs เช่นกัน เพื่อทำงานบนระบบ UNIX) และเผยแพร่ไปสู่มหาวิทยาลัยต่างๆ ด้วย Version 6 ในปี ค.ศ. 1976
ในปี ค.ศ. 1978 Version 7 ก็ถูกพัฒนาออกมา ซึ่งเป็นต้นแบบของระบบ UNIX รุ่นใหม่ๆ หลังจากนั้น AT&T ซึ่งเป็นองค์กรแม่ของ Bell Labs ได้เป็นผู้รับผิดชอบ และควบคุมการออกตัวระบบปฏิบัติการ UNIX ดังนั้น UNIX จึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ แทนที่จะเป็นเครื่องมือวิจัย AT&T ได้พัฒนา UNIX ออกมาใช้งานภายนอก ภายใต้ชื่อ System ในปี 1982 และปี 1983 ก็ออก System V และพัฒนามาเรื่อยๆ จนได้รับความนิยมในปัจจุบัน
หลังจากนั้นก็มีผู้พัฒนา UNIX เพิ่มขึ้นมา เช่น University of California at Berkley ได้พัฒนา BSD UNIX (Berkley Software Distribution) ต่อมาหน่วยงานกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ (Defense Advanced Research Projects Agency - DARPA) ได้ให้ทุนกับ Berkley ในการพัฒนา UNIX และเกิด Version 4BSD เพื่อสนับสนุนเครือข่ายของ DARPA ที่ใช้โปรโตคอลในการสื่อสาร คือ TCP/IP Version ล่าสุดของ Berkley คือ 4.4BSD ที่ออกมาในปี ค.ศ. 1993 โดยมีความสามารถสนับสนุน Protocol X.25 หลังจากนั้น Berkley ก็หยุดการพัฒนา UNIX
นอกจาก Berkley ยังมีผู้พัฒนารายอื่น เช่น บริษัทซันไมโครซิสเต็ม ก็ได้พัฒนา SunOS และ Solaris บริษัท DEC ได้พัฒนา Ultrix และเปลี่ยนชื่อเป็น OSF/1 บริษัทไมโครซอฟต์พัฒนา XENIX บริษัทไอบีเอ็มพัฒนา AIX แต่ไม่ว่าจะเป็นค่ายใดก็ตาม ต่างก็ยึดแนวทางของ BSD หรือไม่ก็ Sytem V ทั้งนั้น
ปัจจุบัน UNIX เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน (Registered Trademark) ของหน่วยงานที่ชื่อ The Open Group ซึ่งจะทำการกำหนด และรับรองมาตรฐานของระบบปฏิบัติการ UNIX
ระบบปฏิบัติการ UNIX มี 2 ลักษณะ คือ
ระบบปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน UNIX เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้มาตรฐานของ The Open Group ในการพัฒนาขึ้นมา เช่น Digital UNIX, SCO UNIX, IBM's OpenEdition MVS ระบบปฏิบัติการคล้าย UNIX (UNIX Compatible) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายระบบ UNIX แต่ยังไม่ได้จดทะเบียน รับรองเป็นทางการ เช่น Sun Solaris, IBM AIX, Linux

ระบบปฎิบัติการ chrome

ระบบปฎิบัติการ chrome


Chrome OS จะใช้แก่น (kernel) ของระบบปฏิบัติการลินุกซ์เป็นแกนกลาง จากนั้นกูเกิลจะพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนติดต่อผู้ใช้ของตัวเองเพิ่มเข้าไป เป้าหมายหลักของระบบปฏิบัติการนี้คือบูตเครื่องให้เร็วที่สุด และเปิดเว็บเบราว์เซอร์ Chrome ขึ้นมาให้ผู้ใช้เข้าถึงบริการต่างๆ ของกูเกิลที่อยู่บนเว็บเพจได้
ระบบปฏิบัติการ Chrome OS จะเน้นไปที่ตลาดเน็ตบุ๊ก (โน้ตบุ๊กขนาดเล็กที่กำลังได้รับความนิยม) กูเกิลจะแจกฟรีและเปิดเผยซอร์สโค้ด ปัจจุบันมีผู้ผลิตเน็ตบุ๊กหลายรายเข้าร่วมกับกูเกิลแล้ว เช่น Acer, ASUS, HP, Lenovo, Toshiba เป็นต้น
Chrome OS จะเป็นคนละตัวกับ Android ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการบนมือถืออีกตัวของกูเกิล ทั้งคู่พัฒนาบนฐานของลินุกซ์เหมือนกัน และประกาศเป็นโอเพนซอร์สเหมือนกัน เพียงแต่มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน
กูเกิลประกาศว่าระบบปฏิบัติการ Chrome OS จะเริ่มออกให้ใช้จริงได้ในครึ่งหลังของปี 2010
บทวิเคราะห์ SIU
ถึงแม้ว่ากูเกิลจะหันมาทำระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์อย่างจริงจัง แต่ก็ไม่ได้แปลว่ากูเกิลจะกลายมาเป็นคู่แข่งทางตรงกับไมโครซอฟท์ และกูเกิลเองก็ฉลาดพอที่จะเลี่ยงการแข่งขันกับไมโครซอฟท์ตรงๆ
ระบบปฏิบัติการอย่างวินโดวส์และแมคอินทอชนั้นเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับงานทั่วไป (generic OS) ซึ่งสามารถนำมาทำอะไรก็ได้ ตั้งแต่พิมพ์งาน เล่นเน็ต ไปจนถึงทำกราฟฟิกสามมิติหรือออกแบบห้องเครื่องของรถยนต์
แต่ Chrome OS นั้นเป็นระบบปฏิบัติการที่ค่อนข้างเฉพาะคือเอาไว้เล่นเน็ตเป็นหลัก ความต่างอยู่ที่กูเกิลพยายามจะเปลี่ยนซอฟต์แวร์แบบเดิมๆ ที่ใช้กันมานานให้ไปอยู่บนเว็บ เช่น Google Docs คือโปรแกรม Microsoft Word เวอร์ชันใช้งานผ่านหน้าเว็บนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าซอฟต์แวร์ทุกตัวจะสามารถแปลงไปอยู่บนเว็บได้ทั้งหมด ยังไงตลาดระบบปฏิบัติการแบบดั้งเดิมของไมโครซอฟท์ก็จะคงอยู่ไปอีกนาน
ทั้ง Chrome OS และเว็บเบราว์เซอร์ Chrome ไม่ใช่ธุรกิจหลักของกูเกิล แต่เป็น “ช่องทาง” ที่จะทำให้ลูกค้าเข้าสู่ธุรกิจหลักของกูเกิลได้ต่างหาก กูเกิลทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำจากโฆษณาออนไลน์ ดังนั้น กูเกิลจะทำทุกอย่างเพื่อให้คนเข้าใช้บริการของกูเกิลอย่าง Gmail, Google Maps หรือ Google Docs ให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มยอดขายโฆษณาของตัวเอง สิ่งที่เราเห็นในช่วง 3-4 ปีให้หลัง ไม่ว่าจะเป็นมือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android, Chrome และ Chrome OS ล้วนแต่เป็นเครื่องมือที่ให้คนเข้าเว็บในเครือกูเกิลเยอะๆ เท่านั้น
ในอดีตกูเกิลพึ่งพิงบริษัทหรือหน่วยงานอื่นๆ ในการพัฒนาซอฟต์แวร์เหล่านี้ เช่น Mozilla ที่ทำเบราว์เซอร์ Firefox หรือแอปเปิลที่ทำระบบปฏิบัติการ iPhone แต่สุดท้ายกูเกิลก็เริ่มเรียนรู้ว่าต้องเป็นผู้ควบคุมเทคโนโลยีเองเท่านั้น จึงจะมีอำนาจเต็มในการกำหนดทิศทางการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เป็นไปอย่างที่กูเกิลต้องการ
ตลาดหลักของ Chrome OS จะเป็นอุปกรณ์ชนิดใหม่ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้น เช่น เน็ตบุ๊กหรือ tablet pc ที่ใช้ท่องเน็ตเป็นหลัก กูเกิลจะไม่สนใจตลาดพีซีหรือโน้ตบุ๊กที่ไมโครซอฟท์และแอปเปิลครองอยู่แล้ว กลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์เดียวกับที่กูเกิลสร้าง Android จับตลาดมือถือสมาร์ทโฟนที่เพิ่งบูมเมื่อเร็วๆ นี้ ความสำเร็จของ Chrome OS ขึ้นกับว่ากูเกิลพยากรณ์ตลาดอุปกรณ์เหล่านี้ว่าจะมีอนาคตสดใสมากเพียงใด ไมโครซอฟท์จะยังเป็นบริษัทที่ทรงอิทธิพลต่อไป แต่จะไม่ใช่ไมโครซอฟท์อภิมหาอำนาจเช่นเดียวกับยุค 90s-2000s อีกแล้ว













ระบบปฎิบัติการ DOS

ระบบปฏิบัติการ DOS เป็นอย่างไร?

ระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการประกอบขึ้นจากชุดโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินการต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ และประสานการทำงานระหว่างทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนที่เป็นซอฟต์แวร์และส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ให้เป็นไปย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ระบบคอมพิวเตอร์ในระดับไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปใช้ระบบปฏิบัติการที่จัดเก็บอยู่บนแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ เอ็มเอสดอส (Microsort Disk Operating System : MS-DOS) ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์คอร์ปอเรชัน ระบบปฏิบัติการนี้ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของผู้ใช้และพัฒนาการทางด้านซอฟต์แวร์และฮารด์แวร์
การเริ่มต้นทำงานของระบบปฏิบัติการดอส

การเริ่มต้นทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นโดยอัตโนมัติจากส่วนของชุดคำสั่งที่จัดเก็บอยู่ บนหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อ่านได้อย่างเดียวที่เรียกว่ารอม (Read Only Memory : ROM) คำสั่งเหล่านี้จะทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์พื้นฐานและทำการบรรจุระบบปฏิบัติการจากแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ขึ้นสู่หน่วยความจำหลัก หลังจากนี้การควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะถูกบรรจ ุไปอยู่บนหน่วยความจำหลักเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โปรแกรมหนึ่งในระบบปฏิบัติการดอสที่ถูกบรรจุคือ โปรแกรมคำสั่งที่มีชื่อว่า command.com และกระบวนการเริ่มต้นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้เรียกกันทั่วไปว่า การบูทเครื่อง (boot) คอมพิวเตอร์
การบูทเครื่องคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีคือ
1. Cold Boot คือการเปิดเครื่องด้วยสวิตช์ปิดเปิดเครื่อง (power)
2. Worm Boot คือ จะใช้วิธีนี้ในขณะที่เครื่องเปิดอยู่ ในกรณีที่เครื่องค้าง (Hank) เครื่องไม่ทำงานตามที่เราป้อนคำสั่งเข้าไป


การบูทเครื่องแบบนี้สามารถกระทำได้อยู่ 2 วิธีคือ
1. กดปุ่ม Reset
2. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del พร้อมกัน แล้วปล่อยมือ
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น
รูปแบบและการใช้คำสั่งต่าง ๆ
ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
[d:] หมายถึง Drive เช่น A:, B:
[path] หมายถึง ชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย


[filename] หมายถึง ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
[ext] หมายถึง ส่วนขยาย หรือนามสกุล
*หมายเหตุ ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง
รูปแบบและการใช้คำสั่งภายใน (Internal Command)
คำสั่ง หน้าที่ รูปแบบ
CLS (CLEAR SCREEN) ลบข้อมูลบนจอภาพขณะนั้น CLS
DATE แก้ไข/ดูวันที่ให้กับ SYSTEM DATE
TIME แก้ไข/ดูเวลา ให้กับ SYSTEM TIME
VER (VERSION) ดูหมายเลข (version) ของดอส VER
VOL (VOLUME) แสดงชื่อของ DISKETTE VOL [d:]
DIR (DIRECTORY) ดูชื่อแฟ้มข้อมูล, เนื้อที่บนแผ่นดิสก์, ชื่อแผ่นดิกส์ DIR [d:] [path] [filename [.ext]] [/p] [/w]

/p หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลทีละ 1 หน้าจอภาพ ถ้าต้องการดูหน้าต่อไปให้กดแป้นใด ๆ

/w หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลตามความกว้างของจอภาพ

TYPE แสดงเนื้อหาหรือข้อมูลในแฟ้มข้อมูลที่กำหนด TYPE [d:] [path] [filename.[.ext]]
COPY ใช้คัดลอกแฟ้มข้อมูลหนึ่ง หรือหลายแฟ้มข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลต้นทาง ไปยังแฟ้มข้อมูลปลายทาง อาจจะเป็นจากแผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งหรือแผ่นดิสก์เดิมก็ได้ COPY [d:] [path] [filename[.ext]] [d:] [path] filename[.ext]]
REN (RENAME] เปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล (ข้อมูลข้างในแแฟ้มข้อมูลยังเหมือนเดิม) REN [d:] [path] [oldfilename[.ext]] [newfilename[.ext]]
DEL (DELETE) ลบแฟ้มข้อมูลออกจากแฟ่นดิสก์ DEL [d:] [path] [filename[.ext]]
PROMPT COMMAND เปลี่ยนรูปแบบตัวพร้อมรับคำสั่ง (system prompt) เป็นตัวใหม่ตามที่ต้องการ PROMPT [prompt-text] or propt $p$

$ หมายถึงตัวอักษร
t หมายถึง เวลา
d หมายถึง วัน เดือน ปี
p หมายถึง เส้นทาง Directory ปัจจุบัน
v หมายถึง DOS VERSION NUMBER
g หมายถึง เครื่องหมาย >
l หมายถึง เครื่องหมาย <>MD (MAKE DIRECTORY) สร้าง subdirectory (ห้องย่อย) เพื่อจัดเก็บแฟ้มข้อมูล MD [d:] [path] [Dir_name]
CD (CHANGE DIRECTORY) เป็นคำสั่งในการเปลี่ยนไปใช้งาน subdirectory ที่ต้องการ CD [d:] [path] [Dir_name]
CD\ (การย้ายกลับมาสู่ ROOT DIRECTORY
CD.. (การย้ายกลับมาที่ DIRECTORY)
RD (REMOVE DIRECTORY) ลบ subdirectory (ห้องย่อย) ที่สร้างด้วยคำสั่ง MD RD [d:] [path] [Dir_name]
คำสั่งภายนอก(EXTERNAL COMMAND)
คำสั่งภายนอกมี 2 นามสกุล
1.นามสกุลเป็น .COM เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่ถูกแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
2.นามสกุลเป็น .EXE เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่เขียนโดยใช้ภาษาระดับสูงและแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว คำสั่ง หน้าที่ รูปแบบ
TREE แสดงรายชื่อ directory ทั้งหมดในแผ่นดิสก์ ที่กำหนด TREE [d:] [/f]

/f หมายถึงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแต่ละ subdirectory
ด้วย
SYS (SYSTEM) เป็นคำสั่ง copy แฟ้มข้อมูลที่ใช้ในการเปิดเครื่องลงในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ ที่ไม่มีระบบ (เปิดเครื่องไม่ได้) SYS [d:]
CHKDSK (CHECK DISK) ตรวจสอบ directory หรือ file แสดงจำนวน memory ที่ใช้ไปและที่เหลืออยู่ รวมถึงเนื้อที่ บนแผ่นดิสก์ที่ใช้ไป และที่เหลืออยู่ CHKDSK [d:] [path] [filename[.ext]] [/f] [/v]

/f หมายถึง การตรวจสอบเนื้อที่ที่เสียหาย

/v หมายถึง ให้แสดง directory และ แฟ้มข้อมูลที่ซ่อนอยู่
LABEL เพื่อกำหนดชื่อ (volume label), เปลี่ยนหรือลบ volume label บนดิสก์ LABEL [d:] [volume label]
FORMAT กรณีที่ diskette ใหม่ จะเป็นการจัด track และ sector ของ diskette ใหม่ เพื่อให้เขียนข้อมูลได้
กรณีที่เป็น diskette ที่มีข้อมูลอยู่แล้วเมื่อใช้คำสั่งนี้ข้อมูลจะถูกล้างไปหมด พร้อมที่เขียนข้อมูลใหม่
FORMAT [d:] [/s] [/v]
/s หมายถึง ทำการ format โดยทำการคัดลอก โปรแกรมระบบดอส (BIO.COM, OS.COM, COMMAND.COM)
/v หมายถึง กำหนด volume label ให้ดิสก์
DISKCOPY (COPY DISKETTE เป็นคำสั่งที่ใช้ copy file ทั้งหมดจากแผ่นดิสก์จากแผ่นหนึ่งไปใส่อีกแผ่นหนึ่ง แต่ถ้าแผ่นดิสก์อีกแผ่น ยังไม่ได้ทำการ format ก็จะทำการ format ให้โดยอัตโนมัติ DISKCOPY [d:] [d:]

ตัวอย่างคำสั่งระบบปฎิบัติการDOS